ถ้าพูดถึงแพลตฟอร์ม Streaming หลายคนอาจจะคุ้นชื่อกับ ‘BIGO LIVE’ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ที่ปัจจุบันโด่งดังไปถึงระดับโลกแล้ว
ข่าวธุรกิจ เพราะอะไรธุรกิจ Live Streaming ถึงได้รับความนิยมขนาดนี้ และในอนาคตอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตไปในทิศทางไหน การทำคอนเทนต์สำหรับครีเอเตอร์ในยุคนี้ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างTODAY Bizview ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘Mike Ong’ รองประธานของ BIGO LIVE ถึงวงการ Live Streaming และเป้าหมายของ BIGO LIVE ที่จะยกระดับแพลตฟอร์มไปถึงอีกขั้นปี 2016 เป็นครั้งแรกที่ BIGO LIVE ได้เจาะธุรกิจ Live Streaming การถ่ายทอดสดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างจริงจัง และมีบริษัทอื่นๆ เข้ามาในตลาดมากขึ้น จนถึงตอนนี้ ธุรกิจ Streaming เติบโต และได้รับความนิยมทั่วโลกเป็นอย่างมาก จนเกิดเป็นเทรนด์หรือไวรัลต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง จุดนี้เอง ทำให้ Mike ตั้งข้อสังเกตที่ทำให้ธุรกิจ Live Streaming สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป – กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Gen Z เติบโตมาในยุคที่สามารถเข้าถึงทุกอย่างได้ง่าย สะดวกสบายมากขึ้น และมีความมั่นใจในตัวเองสูง กล้าแสดงตัวตนบนโลกออนไลน์อย่างเปิดเผย เช่น ถ่ายวิดีโอตัวเองโพสต์ลงบนโลกออนไลน์โดยไม่รู้สึกเขินอาย ใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงตัวตนออกมาได้อย่างเต็มที่ Creator Economy ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง – ในยุคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ครีเอเตอร์สามารถหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายรูปหรือวิดีโอ พร้อมโพสต์ลงโลกโซเชียลได้เลย หรือจะไลฟ์สด Streaming ก็สามารถทำได้ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต พฤติกรรมในลักษณะนี้ มีส่วนทำให้ Creator Economy ขยายตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าของขนาดตลาด Creator Economy ล่าสุดทะลุกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับมูลค่าในปี 2019
เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา – สำหรับครีเอเตอร์ การถ่ายวิดีโอ สร้างคอนเทนต์แต่ละชิ้น หรือแม้กระทั่งการ Live Streaming ต้องใช้อุปกรณ์ถ่ายทำที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย สามารถสร้างเอฟเฟกต์ต่างๆ ได้ เพื่อดึงดูดความสนใจกับผู้ชม และสร้างรายได้จากแพลตฟอร์ม
Mike ยังเสริมด้วยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรม Live Streaming เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แต่เขามองว่าการแข่งขันเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับ ทำให้อุตสาหกรรมเติบโต แต่ไม่ใช่การแข่งขันแบบ Zero-Sum Game (เกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ) เพราะแพลตฟอร์มต่างพยายามตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และพยายามทำให้ผู้ใช้หันมาดู Streaming กันมากขึ้น
อย่าง BIGO LIVE เอง ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นเพราะโมเดลธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสตรีมเมอร์เป็นอย่างมาก
ข่าวธุรกิจ โดยโฟกัสไปที่ความต้องการของสตรีมเมอร์เป็นหลัก ให้อิสระพวกเขาในการสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อเปิดช่องทางให้ผู้ใช้ได้รับชมคอนเทนต์ในหลากหลายรูปแบบ และยังมีกลุ่มวิศวกร R&D ที่เชี่ยวชาญอยู่ทั่วโลก เป็นเบื้องหลังที่ช่วยให้ครีเอเตอร์สามารถ Streaming ได้แบบไร้ปัญหานอกจากนี้ Mike ยังบอกว่าถ้าบริษัทสตรีมเมอร์มองว่าตัวเองไม่มีคู่แข่ง นั่นอาจหมายความว่า คุณกำลังทำอะไรบางอย่างผิดทิศทางอยู่ก็เป็นไปได้ และควรกลับไปทบทวนแผนธุรกิจอีกครั้ง เพราะไม่มีทางที่ธุรกิจนี้จะไม่มีการแข่งขันเลย หรือคุณไม่มีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมนี้อยู่นั่นเองพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากแต่ก่อน คนมักเน้นการพิมพ์หรือโพสต์รูปซะส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมของกลุ่มคน Gen Z นิยมสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ เช่น ถ่ายวิดีโอเซลฟี่ตัวเอง เพราะพวกเขามั่นใจในการพรีเซนต์ตัวเอง กล้าที่จะแสดงตัวตนมากขึ้น ตั้งแต่กิจวัตรประจำวัน ไปจนถึงการแสดงจุดยืนในประเด็นต่างๆ ในสังคมซึ่งไม่ใช่แค่ Gen Z เท่านั้น พบว่ากลุ่มคนรุ่นก่อนก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเช่นกัน จากเมื่อก่อนเรามักคุ้นชินกับการส่งข้อความ เขียนแคปชั่นเล่าเรื่องราว หรือชอบดูโพสต์ที่มีรูปภาพ แต่ในปัจจุบัน รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลเปลี่ยนแปลงไป ทุกคนเสพคอนเทนต์วิดีโอทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งก่อนนอนคนในยุคนี้จึงให้ค่ากับคอนเทนต์วิดีโอพอสมควร จากคลิปวิดีโอทุกรูปแบบ ทั้งสั้นและยาว ไปจนถึงการ Streaming ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะพวกเขาต้องการที่จะรับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้เสพเพื่อแค่ความบันเทิงอย่างเดียว แม้สัดส่วนวิดีโอหรือ Live Streaming ในปัจจุบัน ที่จะยังเน้นไปที่ความบันเทิงมากกว่าก็ตามนอกจากนี้ Mike ยังมองว่าผู้ใช้มีช่วงความสนใจ (Attention Span) ที่ลดลงมากด้วย เห็นได้จากการใช้ Twitter ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะคนเราเน้นเสพข้อมูลที่สั้นและกระชับ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อไหนก็ตาม และเน้นดูรูปภาพกับอ่านแคปชั่นที่ไม่ยาวมาก ดังนั้นการสร้างคอนเทนต์จึงต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา
แนะนำข่าวธุรกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เรียกเงินคืนกว่า 1.6 แสนบาท เจ้าของธุรกิจละเมิดสิทธิผู้บริโภค