ชี้ส่งออกปี 66 ส่อเค้าชะลอตัว เผชิญกับปัจจัยเสี่ยงสารพัด

ชี้ส่งออกปี 66 ส่อเค้าชะลอตัว เผชิญกับปัจจัยเสี่ยงสารพัด

เศรษฐศาสตร์ นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ในปี 66 ภาคการส่งออกของไทยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญมากมาย ได้แก่ ตลาดส่งออกหลักขยายตัวลดลง ทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เพราะความต้องการซื้อสินค้าชะลอลงจากกำลังซื้อที่อ่อนแอ, ดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องจากปี 65 เพราะธนาคารกลางหลายประเทศยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจและครัวเรือนเพิ่มขึ้นจนฉุดกำลังซื้อ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากค่าเงินบาทผันผวน จากผลของธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่ยังไม่จบสิ้น ทั้งปัญหารัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงาน ข่าวเศรษฐศาสตร์ วัตถุดิบ อาหารโลกผันผวน รวมถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีน-ไต้หวัน ที่กดดันต่อห่วงโซ่การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และเทคโนโลยีขั้นสูง จนส่งผลให้เกิดความขาดแคลน และกระทบต่อการส่งออกไทยได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัว ได้แก่ เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญบางประเทศเติบโตดี จีนผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์ส่งผลดีต่อการเดินทาง และการจับจ่ายใช้สอยของชาวจีน ที่จะเพิ่มขึ้นภาคอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปี 66 หน่วยงานพยากรณ์เศรษฐกิจของไทยหลายแห่ง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกไทยจะชะลอลง และไม่ได้เป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนปี 65 อีกแล้ว โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดขยายตัว 1% จากปี 65 ที่คาดขยายตัว 7.5% สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) คาดขยายตัว 2-3% จากปี 65 ที่คาดขยายตัว 7-8% ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอกรค้าไทย คาด ขยายตัว 1.2% เป็นต้น

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : ไอเอ็มเอฟส่งสัญญาณ รับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย