รู้จักโรค ‘ลีเจียนแนร์’ ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ระบาดที่อาร์เจนตินา

รู้จักโรค ‘ลีเจียนแนร์’ ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ระบาดที่อาร์เจนตินา

สุขภาพ สธ.เฝ้าระวังสถานการณ์โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ‘ลีเจียนแนร์’ กรมควบคุมโรคยืนยันไม่ใช้โรคใหม่ ไทยป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน จำนวน 131 ราย จากกรณีประเทศอาร์เจนตินา พบการแพร่ระบาดของโรคลีเจียนแนร์ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ระบาดในสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง พบผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ 11 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 8 ราย และผู้ป่วย 3 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย โรคลีเจียนแนร์ ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแบคทีเรีย Legionella pneumophila เป็นเชื้อก่อโรคลีเจียนแนร์ (Legionnaires’ disease) พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอุณหภูมิ 32-45 องศาเซลเซียส การติดต่อและรับเชื้อเกิดจากการหายใจเอาละอองฝอยของเหลว หรือละอองฝอยของน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ เช่น น้ำจากหอหล่อเย็น (cooling towers) ของระบบปรับอากาศ น้ำฝักบัวอาบน้ำ อ่างน้ำวน เครื่องช่วยหายใจ และน้ำพุประดับอาคาร สถานที่ต่างๆ รวมถึงสำลักน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง หรือผู้สูบบุหรี่หนัก ทั้งนี้ยังไม่เคยพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โรคลีเจียนแนร์ไม่ใช่โรคใหม่ ข่าวสุขภาพ  เกิดจากการหายใจเอาละอองน้ำ หรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค หรือจากระบบปรับอากาศที่ไม่สะอาดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งโรคเป็นโรคที่พบได้ประปราย และการระบาดมักอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ อันตรายถ้าเชื้อลงปอด ผู้ติดเชื้อโรคลีเจียนแนร์จะมีอาการเป็น 2 ลักษณะ คือ อาการเบาไปจนถึงอาการหนัก อาการเบาจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไอ คลื่นไส้อาเจียน เรียกว่า โรคไข้ปอนเตียก (Pontiac fever) หากติดเชื้อลงไปที่ปอด ทำให้ปอดอักเสบ มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต จะเรียกว่า โรคลีเจียนแนร์ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ โรคลีเจียนแนร์สามารถรักษาได้โดยปกติทั่วไปแล้วโรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงจะไม่มีอาการป่วยใดๆ แต่อาการของโรคจะชัดเจนในกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำและผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : เช็กด่วน! 9 รพ.เอกชนถูกยกเลิกสิทธิบัตรทอง ปชช.ต้องไปรักษาที่ไหน