เปิด10 อันดับ ‘ธุรกิจบลจ.’ มีสินทรัพย์สุทธิสูงสุด ฝ่ามรสุมการลงทุนรอบปี 65

เปิด 10 อันดับบลจ.มี AUM มากที่สุดรอบปี 65 บลจ.กสิกรไทย ฝ่ามรสุมการลงทุนมี AUM สูงสุด 9.71 แสนล้าน มีส่วนแบ่ง 25.5%

ข่าวธุรกิจ โดยทุกบลจ.มีการเติบโตลดลง บลจ.กรุงไทย หดตัวมากสุดถึง 29% หลังจากนี้ต้องดูการแก้เกมในอุตฯ ทั้งดีลขายบลจ.ของแบงก์แม่ และเปลี่ยนตัวผู้บริหารครั้งใหญ่ ปี 2565 นับว่า เป็นปีที่ยากลำบากของการลงทุน สารพัดปัจจัยลยกดดัน ทำให้ตลาดผันผวนสูง ทั้งจากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซียกับยูเครน เฟดขึ้นดอกเบี้ยในระดับสูง และมีความไม่แน่นอน เพื่อสู้ต่อกับเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้า แนวโน้มการเกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐในปีนี้ ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดโดยเฉพาะในจีน แม้ช่วงปลายปีก่อน จะเริ่มมีข่าวดีที่จีนเปิดประเทศเร็วความตลาดคาดไว้ก็ตาม หนุนตลาดการลงทุนในประเทศเริ่มมีความหวังแต่ก็ไม่สามารถทำให้ “อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย” ปี 2565 พลิกกลับมาเป็นบวกได้ ทั้งนี้จากรายงาน “มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ซ (ประเทศไทย) ณ 31 ธันวาคม 2565 ระบุว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure fund) ปี 2565 มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 3.8 ล้านล้านบาท หดตัว 11.1% จากสิ้นปี 2564 10 อันดับ ‘ธุรกิจบลจ.’ มีสินทรัพย์สุทธิสูงสุด ปี65โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ส่วนใหญ่มูลค่าทรัพย์สินหดตัวหลังจากปี 2564 ไม่เว้นแม้แต่ 10 อันดับ บลจ. มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (AUM) (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure fund) สูงสุด ในปี 2565 ดังนี้

1.บลจ.กสิกรไทย มี AUM 971,000 ล้านบาท หดตัว 10% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 25.5%

2.บลจ.ไทยพาณิชย์ มี AUM 631,000 ล้านบาท หดตัว 8% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 16.5%

3.บลจ.บัวหลวง มี AUM 573,000 ล้านบาท หดตัว 2% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 15%

4.บลจ.กรุงศรี มี AUM 390,000 ล้านบาท หดตัว 9% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 10.2%

5.บลจ.อีสท์สปริง มี AUM 333,000 ล้านบาท หดตัว 15% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 8.7%

6. บลจ.กรุงไทย มี AUM 290,000 ล้านบาท หดตัว 29% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 7.6%

7.บลจ.ยูโอบี มี AUM 118,000 ล้านบาท หดตัว 10% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 3.1%

8.บลจ.เกียรนาคิน มี AUM 95,000 ล้านบาท หดตัว 4% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 2.5%

9.บลจ.พรินซิเพิล มี AUM 68,000 ล้านบาท หดตัว 19% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 1.8%

10.บลจ.เอ็มเอฟซี มี AUM 57,000 ล้านบาท หดตัว 16% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 1.5%

10

โดยผู้ที่สนใจประมูลขาย บลจ.กสิกรไทย เช่น Amundi บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรายใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส ,บริษัท TPG และ CVC Capital Partners ซึ่งเป็นบริษัทที่ลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ชื่อดังระดับโลกอย่าง

รวมถึงยังคาดการณ์ว่า การทำข้อตกลงเปิดประมูลกิจการอาจจะมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการซื้อกิจการ การซื้อหุ้นบางส่วน หรือแม้แต่การจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ สำหรับก่อนหน้านี้ KBANK ได้เคยชี้แจงกรณีข่าวการขายบลจ.กสิกรไทย ว่า ธนาคารแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและแนวทางเพิ่มเติม ที่จะสร้างประโยชน์ต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้นในทุกธุรกิจของธนาคาร รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของธนาคารแต่หากมีธุรกรรมเกิดขึ้น ธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาที่เหมาะสม โดยที่ผ่านมา เว็บไซต์สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ที่ผ่านมาสถาบันการเงินรายใหญ่ของไทยทั้ง SCBX และ KBank สนใจที่จะขายธุรกิจหรือขายหุ้นบางส่วนในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนมาแล้ว เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมานี้ ทางแบงก์กสิกรไทย แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุดว่า ทางแบงก์กำลังพิจารณาทบทวนแผนกลยุทธ์ขาย บลจ. นั้น ยังต้องหารือกับหลายฝ่าย ย้ำการหารือดังกล่าวอาจไม่ได้ส่งผลให้มีธุรกรรมเกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น “ขายธุรกิจ บลจ.” ของบลจ.ขนาดใหญ่ ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามความชัดเจนในปีนี้ ว่าดีลดังกล่าวจะล่ม หรือไม่ หรือมีดีลใหม่ เพิ่มเติมอีกหรือไม่ เพราะนักลงทุนต่างชาติก็ให้ความสนใจเข้ามาเจาะตลาดในประเทศที่ยังมีการเติบโตได้อีกมาก จากอัตราการออมเงินของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่มีเงินพอใช้หลังเกษียณ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน บลจ.ขนาดใหญ่ไทยแท้ ที่มีแบงก์แม่ถือหุ้นใหญ่ ก็ยังส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่า แต่หากผู้เล่นดังกล่าว ไม่ปรับตัวและแบงก์แม่ตัดใจขายหุ้นสัดส่วนน้อย กลายเป็นขาย 100% เลยก็ได้ เพราะจะเห็นได้ว่า การแข่งขันช่วงหลังๆ ก็เริ่มขายในโปรดักส์ที่ซ้ำๆ กัน หั่นค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ก็มีแต่โอกาสทำรายได้อย่างที่คาดหวังจากธุรกิจนี้ลดลง

แนะนำข่าวธุระกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : พลิกวิกฤติเป็นโอกาส สนุกกับปัญหา..อย่าท้อ! คัมภีร์ ‘ตัน’ เคลื่อนธุรกิจ